แผนการจัดการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es)

 


อ้างอิง : https://www.pngegg.com/th/png-wwvvx



แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es)

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2

รายวิชา ภาษาไทย  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1           ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563

เรื่อง สระ เ- และ สระ แ-                                  จำนวน 1 คาบ ( 60 นาที)

วันที่ ..................................                              โรงเรียน โฆสิตสโมสร

 

1. มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด/ ผลการเรียนรู้

       มาตรฐานการเรียนรู้

           ท ๔.๑ เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษา และพลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ

       ตัวชี้วัด

   ตัวชี้วัด ท ๔.๑ ป.๑/๒ เขียนสะกดคำ และบอกความหมายของคำ

2. จุดประสงการเรียนรู้

          ด้านความรู้ความเข้าใจ (K)

                     นักเรียนสามารถบอกวิธีการแจกลูกสะกดคำที่ประสมกับสระ เ- และสระ แ- ได้

          ด้านทักษะกระบวนการ (P)

                      นักเรียนสามารถอ่าน และเขียนแจกลูกสะกดคำ ที่เป็นสระ เ- และสระ แ- ได้

          ด้านคุณลักษณะ (A)

                      นักเรียนมีความมุ่งมั่นในการทำงาน

3. สาระสำคัญ

                    การอ่านแจกลูกและสะกดคำ เป็นกระบวนการขั้นพื้นฐานของการนำเสียงพยัญชนะต้น สระ วรรณยุกต์ และเสียงตัวสะกดมาประสมกัน ทำให้ออกเสียงคำต่าง ๆ ที่มีความหมายในภาษาไทย

4. สาระการเรียนรู้


๑. ความรู้เกี่ยวกับสระ การเขียน การออกเสียง สระ เ- แ-


๒. การสะกดคำ การแจกลูก และการอ่านเป็นคำ สระ เ- แ-

การอ่านแจกลูกและสะกดคำ เป็นกระบวนการขั้นพื้นฐานของการนำ เสียงพยัญชนะต้น สระ วรรณยุกต์ และเสียงตัวสะกดมาประสมเสียงกัน ทำให้ออกเสียงคำต่าง ๆ ที่มีความหมาย ในภาษาไทย การแจกลูกและการสะกดคำบางครั้งเรียกรวมกันว่า “การแจกลูกสะกดคำ” เพราะในการสอนแจกลูกสะกดคำจะดำเนินไปด้วยกันอย่างกลมกลืน เพื่อให้นักเรียนได้หลักเกณฑ์ทางภาษาทั้งการอ่านและการเขียนไปพร้อมกัน

       

5. การจัดกระบวนการเรียนรู้

 

ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้

กิจกรรมการจัดการเรียนรู้

สื่อ

เวลา (นาที)

Engagement

(ขั้นสร้างความสนใจ)

 

๑. ครูและนักเรียนกล่าวทักทายกัน จากนั้นครูแจ้งเรื่องที่จะเรียน คือเรื่องการแจกลูกสะกดคำที่ประสมกับสระ เ- และสระ แ-

2. ครูเขียนสระ เ- และสระ แ- บนกระดาน จากนั้นให้นักเรียนออกเสียงตาม แล้วถามนักเรียนว่า

- สระ เ- และสระ แ-  เป็นสระเสียงสั้นหรือสระเสียยาว (ตอบ สระเสียงยาว)

- คำที่ครูเขียนบนกระดาน ที่มีพยัญชนะ ก กับสระ เ- รวมกันเป็นกลุ่มก้อน เรียกว่าอะไร (ตอบ คำ)

- คำ ๑ คำประกอบไปด้วยอย่างน้อยกี่อย่าง อะไรบ้าง (ตอบ ๒ อย่าง ได้แก่ ๑. พยัญชนะต้น  ๒. สระ)

- คำที่ครูเขียนบนกระดานพยัญชนะต้น คือตัวอะไร และสระอะไร เมื่อนำมาประสมกันอ่านว่าอะไร

(ตอบ พยัญชนะ ก + สระ เ- เมื่อนำมาประสมกันอ่านว่า เก และ พยัญชนะ ก สระ แ- เมื่อนำมาประสมกันอ่านว่า แก) 

- สระ เ- และสระ แ- เวลาเขียนจะเขียนอยู่ตำแหน่งใดของพยัญชนะต้น (ตอบ เวลาเขียนจะอยู่หน้าพยัญชนะต้นเสมอ)

3. ครูแจ้งนักเรียนว่าวันนี้เราจะทำใบงานแจกลูกคำที่ประสมด้วยสระ เ- แ-

 

10

Exploration

(ขั้นสืบเสาะและหาข้อมูล)

 

๑. ครูติดบัตรสระ เ- แ- บนกระดาน จากนั้นให้นักเรียนออกเสียงตาม แล้วถามนักเรียน ดังนี้   

- สระ เ- และสระ แ- ต่างกันอย่างไร (ตอบ สระ เ- จะมีตัว เ เพียง ๑ ตัว ส่วนสระ แ- จะมีตัว เ เรียงกัน ๒ ตัว)

- สระ เ- แ- เป็นสระเสียงสั้นหรือสระเสียยาว (ตอบ สระเสียงยาว)

๒. นักเรียนอ่านแจกลูกสะกดคำบน Power Point “เรื่องสระ เ- แ-” ซึ่งคำที่อ่านมีดังนี้

เก  = ก + เ- = เก

เฉ  = ฉ + เ- = เฉ

เซ  = ซ + เ- = เซ

เห = ห + เ- = เห

แก = ก + แ- = แก

แฉ = ฉ + แ- = แฉ

แพ = พ + แ- = แพ

แห = ห + แ- = แห

ครูอ่านให้นักเรียนฟังแล้วให้นักเรียนอ่านตาม

2. นักเรียนร่วมกันเล่นเกม “สระ แ- สระ เ- เฮฮา”

กติกา : ครูเปิดเพลงแล้วให้นักเรียนส่งตุ๊กตา เมื่อเพลงหยุดตุ๊กตาอยู่ที่นักเรียนคนใด นักเรียนคนนั้นจับบัตรคำแล้วอ่านให้เพื่อนฟัง เล่นทั้งหมด ๘ ครั้ง

  คำที่อยู่ในบัตรคำ มีดังนี้

  “เก  เฉ  เซ  เห แก   แฉ   แพ แห”

  ๓. ครูให้นักเรียนอ่านคำจากวงล้อพร้อมกัน ซึ่งคำในวงล้อมาจากคำในเกม “สระ แ- สระ เ- เฮฮา”

๔. นักเรียนทำใบงานการแจกลูกคำ เรื่องสระ เ- และสระ แ- โดยใช้คำในเกม

- บัตรสระ

- Power Point

- บัตรคำ

- ใบงาน

40

 

Explanation

(ขั้นอธิบายและ          ลงข้อสรุป)

 

๑. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปความรู้ เรื่องสระ เ- และสระ  แ- ดังนี้

- สระ เ- และสระ แ- จะอยู่หน้าพยัญชนะต้นเสมอ เมื่อนำ สระ มาประสมกับพยัญชนะต้น จะเรียกว่า “คำ”

  - สระ เ- แ- เป็นสระเสียยาว เวลาเขียนจะวางไว้หน้าพยัญชนะต้นเสมอ

2. ครูอธิบายเพิ่มเติมว่า “สระ เ- และสระ แ- เป็นสระเสียงยาว เวลาเขียนจะวางไว้หน้าพยัญชนะต้นเสมอ ข้อแตกต่างของสระ เ- และสระ แ- คือ สระ เ- จะมีตัว เ เพียง ๑ ตัวเท่านั้น ส่วนสระ แ- จะมีตัว เ สองตัววางเรียงกัน”

3. ครูอธิบายเพิ่มเติมว่า “คำ ๑ คำ เกิดจากการประสมกันอย่างน้อง ๒ อย่าง คือ พยัญชนะตัน + สระ เช่น คำว่า เก เกิดจากการประสมกันระหว่างพยัญชนะต้น ก + สระ เ- ”

- Power Point

5

Elaboration

(ขั้นขยายความรู้)

 

1. ข้อแตกต่างของสระ เ- และสระ แ- คือ สระ เ- จะมีตัว เ เพียง ๑ ตัวเท่านั้น ส่วนสระ แ- จะมีตัว เ สองตัววางเรียงกัน

2. ความหมายของคำที่ประสมด้วยสระ เ- แ-

- เก  หมายถึง ไม่ตรงตามแนว ไม่เป็นระเบียบ

- เซ  หมายถึง อาการที่ทรงตัวไม่อยู่จนต้องเอนไปข้างหน้า

- เฉ  หมายถึง  ไม่ตรงเส้นแนวตรง

- เห  หมายถึง  เบนไป  เขว

- แก หมายถึง คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วยซึ่งเป็นผู้ที่สนิทสนม หรือผู้น้อย

- แฉ  หมายถึง  ตีแผ่  เปิดเผย

- แห  หมายถึง เครื่องจับปลา ถักเป็นตาข่าย ใช้ทอดแผ่ลงในน้ำแล้วค่อยๆดึงขึ้นมา

- แพ  หมายถึง ไม้ไผ่หรือซุงที่ผูกมัดเรียงติดกันมาก ๆ  ใช้เป็นพาหนะทางน้ำ

- Power Point

5

Evaluation

(ขั้นประเมิน)

1. ครูสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้

2. ครูตรวจใบงาน

- ใบงาน

 

 

6. สื่อการเรียนการสอน

              ๑. Power Point “เรื่องสระ เ- แ-”

๒. ตุ๊กตาสำหรับเล่มเกม “สระแ- สระ เ- เฮฮา”

๓. บัตรสระ บัตรคำ

๔. ใบงาน เรื่องสระ เ- และสระ แ-

 

7. การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้

                   

สิ่งที่ต้องการวัด

เครื่องมือวัด

วิธีการวัด

เกณฑ์การวัด

๑. นักเรียนสามารถบอกวิธีการแจกลูกสะกดคำที่ประสมกับสระ เ- และสระ แ- ได้ (K)

 

๒. นักเรียนสามารถอ่าน และเขียนแจกลูกสะกดคำ ที่เป็นสระ เ- และสระ แ- ได้ (P)

 

๓. นักเรียนมีความมุ่งมั่นในการทำงาน (A)

 

ใบงาน

 

 

 

 

 

 

ใบงาน

 

 

 

 

 

ใบงาน

 

 

ตรวจใบงาน

 

 

 

 

 

 

ตรวจใบงาน

 

 

 

 

 

ตรวจใบงาน

 

ประเมินสภาพจริง

ดี          คะแนน ๕-๖ คะแนน

พอใช้     คะแนน ๓-๔ คะแนน

ปรับปรุง  คะแนน ๑-๒ คะแนน

 

 

 

ประเมินสภาพจริง

ดี          คะแนน ๕-๖ คะแนน

พอใช้     คะแนน ๓-๔ คะแนน

ปรับปรุง  คะแนน ๑-๒ คะแนน

 

 

ประเมินสภาพจริง

ดี          คะแนน ๕-๖ คะแนน

พอใช้     คะแนน ๓-๔ คะแนน

ปรับปรุง  คะแนน ๑-๒ คะแนน

 

 

เกณฑ์การวัดและประเมินผล ด้านพุทธิพิสัย (K)

ใบงาน

ประเด็นการประเมิน

เกณฑ์การให้คะแนน

น้ำหนัก/ ความ

สำคัญ

คะแนนรวม

ดี (๓)

พอใช้ (๒)

ปรับปรุง (๑)

นักเรียนสามารถบอกวิธีการแจกลูกสะกดคำที่ประสมกับสระ เ- และสระ แ- ได้ (K)

นักเรียนสามารถเขียนแจกลูกสะกดคำที่ประสมกับสระ เ- และสระ แ- ได้ทั้งหมด

นักเรียนสามารถเขียนแจกลูกสะกดคำที่ประสมกับสระ เ- และสระ แ- ได้ ได้อย่างละ ๒ คำ

นักเรียนสามารถเขียนแจกลูกสะกดคำที่ประสมกับสระ เ- และสระ แ- ได้ อย่างละ ๑ คำ

รวม

 

เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ

ช่วงคะแนน

ระดับคุณภาพ

-

ดี

-

พอใช้

-

ปรับปรุง

 

เกณฑ์การวัดและประเมินผล ด้านทักษะพิสัย (P)

ใบงาน

ประเด็นการประเมิน

เกณฑ์การให้คะแนน

น้ำหนัก/ ความ

สำคัญ

คะแนนรวม

ดี (๓)

พอใช้ (๒)

ปรับปรุง (๑)

นักเรียนสามารถอ่าน และเขียนแจกลูกสะกดคำ ที่เป็นสระ เ- และสระ แ- ได้ (P)

นักเรียนสามารถเขียนแจกลูกสะกดคำที่ประสมกับสระ เ- และสระ แ- ได้ทั้งหมด

นักเรียนสามารถเขียนแจกลูกสะกดคำที่ประสมกับสระ เ- และสระ แ- ได้อย่างละ ๒ คำ

นักเรียนสามารถเขียนแจกลูกสะกดคำที่ประสมกับสระ เ- และสระ แ- ได้อย่างละ ๑ คำ

รวม

 

เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ

ช่วงคะแนน

ระดับคุณภาพ

๕-๖

ดี

๓-๔

พอใช้

-

ปรับปรุง

 

แบบสังเกตพฤติกรรม เกณฑ์การประเมิน (A)

ประเด็นการประเมิน

เกณฑ์การให้คะแนน

น้ำหนัก/ ความ

สำคัญ

คะแนนรวม

ดี (๓)

พอใช้ (๒)

ปรับปรุง (๑)

นักเรียนมีความมุ่งมั่นในการทำงาน (A)

ส่งใบงาน ภายในเวลาที่กำหนด

ส่งใบงาน ช้ากว่าเวลาที่กำหนด ๑ วัน

ส่งใบงาน ช้ากว่าเวลาที่กำหนด ๒ วัน ขึ้นไป

ทำงานมีระเบียบ เขียนคำผิดไม่เกิน ๒ คำ

ทำงานมีระเบียบ เขียนคำผิดไม่เกิน

๔ คำ

ทำงานมีระเบียบ เขียนคำผิดไม่เกิน

๖ คำ

รวม

 

เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ

ช่วงคะแนน

ระดับคุณภาพ

๕-๖

ดี

๓-๔

พอใช้

๑-๒

ปรับปรุง




แผนการจัดการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es)



อ้างอิง : https://www.pngegg.com/th/png-wcizd


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้